เทคโนโลยีเปลี่ยนเกมธุรกิจ ยกระดับองค์กรสู่อนาคตในปี 2025 ด้วย 10 Enterprise Tech มาแรงแห่งปี

 

        2025 ที่กำลังจะถึงนี้ เป็นอีกปีที่วงการเทคโนโลยีเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นองค์กรเองจำเป็นที่จะต้องเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอเช่นกัน โดยรายงานจาก Gartner ได้เปิดเผยเทรนด์เทคโนโลยีที่ส่งผลต่อการทำงานที่น่าจับตามองทั้ง 10 เทรนด์ ที่จะเป็น ‘ตัวแปร’ สำคัญในการกำหนดทิศทางและความสำเร็จขององค์กรในอนาคต ตอบโจทย์ผู้บริโภคในโลกที่การเปลี่ยนแปลงจะเกิดขึ้นอย่างแน่นอน

 

Agentic AI ระบบอัตโนมัติที่คิด วิเคราะห์ และปรับตัวให้เผชิญหน้ากับความท้าทายได้ 

      

        Agentic AI คือ AI เชิงรุกที่มีความสามารถในการคิด วิเคราะห์ และตัดสินใจได้อย่างอิสระ ทำงานภายใต้ระบบอัตโนมัติ ไม่เพียงแค่ตอบสนองคำสั่ง แต่ยังสามารถคาดการณ์สถานการณ์ล่วงหน้าและเรียนรู้จากข้อมูลใหม่ได้อย่างต่อเนื่อง ด้วยความสามารถวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึกและปรับตัวเองแบบเรียลไทม์ ทำให้ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานในองค์กร เช่น Salesforce ได้นำมาใช้ในระบบบริการลูกค้า ในการวิเคราะห์เชิงลึกเพื่อเข้าใจปัญหาและความต้องการเฉพาะของลูกค้า คาดว่าในปี 2028 Agentic AI จะมีบทบาทในการตัดสินใจขององค์กรถึง 15%

 

AI Governance Platforms สร้างมาตรฐานใหม่ ให้ AI มีจริยธรรมและโปร่งใส

       

        AI Governance Platforms จะช่วยองค์กรจัดการกับ AI Trust, Risk, and Security Management (TRiSM) หรือ การใช้งาน AI ให้โปร่งใสและปฏิบัติตามมาตรฐานด้านความปลอดภัยและจริยธรรม เพื่อควบคุมความเสี่ยงด้านความปลอดภัยและความโปร่งใสของ AI โดยช่วยสร้างนโยบายการใช้งานที่น่าเชื่อถือ ลดปัญหาด้านจริยธรรม และเพิ่มความไว้วางใจของลูกค้า ตัวอย่าง IBM Watson ที่พัฒนาระบบ AI ให้โปร่งใสและมีจริยธรรม สร้างความไว้วางใจและแสดงออกถึงความรับผิดชอบต่อสังคม โดยคาดว่าในปี 2028 องค์กรที่ใช้ AI Governance จะได้รับความไว้วางใจจากลูกค้าเพิ่มขึ้นถึง 30 % พร้อมทั้งลดความเสี่ยงด้านจริยธรรมและการละเมิดข้อมูลได้มากถึง 40% อีกด้วย

 

Disinformation Security ปกป้ององค์กรจากภัยคุกคามทางข้อมูล

        

        ข้อมูลที่ผิดพลาดอาจส่งผลกระทบต่อชื่อเสียงขององค์กรในโลกดิจิทัล ด้วย Disinformation Security องค์กรจะสามารถใช้ AI ในการประเมินความน่าเชื่อถือของข้อมูล ตรวจจับและป้องกันการปลอมแปลงตัวตนได้ คาดว่าภายในปี 2028 องค์กรกว่า 50% จะนำเทคโนโลยีนี้มาใช้เพื่อปกป้องข้อมูลและความน่าเชื่อถือในทุกช่องทาง

 

Post-quantum Cryptography ระบบเข้ารหัสป้องกันภัยจากคอมพิวเตอร์ควอนตัม

        

        Post-quantum Cryptography ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อป้องกันข้อมูล ด้วยอัลกอริทึมที่ออกแบบมาให้ซับซ้อนจนเกินความสามารถของคอมพิวเตอร์ควอนตัมในการถอดรหัส เช่น Lattice-based cryptography และ Hash-based cryptography ซึ่งอาศัยปัญหาคณิตศาสตร์ที่แม้แต่คอมพิวเตอร์ควอนตัมก็ไม่สามารถแก้ได้ในเวลาสั้นๆ แตกต่างจากระบบการเข้ารหัสแบบดั้งเดิม เช่น RSA หรือ ECC ที่คอมพิวเตอร์ควอนตัมสามารถแก้ได้อย่างรวดเร็ว ซึ่ง Google Cloud เริ่มให้ความสนใจและศึกษาระบบนี้เพื่อรักษาความปลอดภัยของข้อมูล คาดการณ์ว่าเทคโนโลยีนี้จะมีบทบาทสำคัญในการรักษาความปลอดภัยของข้อมูลในยุคที่การโจมตีทางไซเบอร์พัฒนาไปอย่างรวดเร็ว

 
Ambient Invisible Intelligence ข้อมูลแฝงที่ประสานโลกดิจิทัลกับชีวิตจริง

        

        Ambient Invisible Intelligence คือหนึ่งในเทคโนโลยีที่มีศักยภาพที่อาศัยการเก็บข้อมูลเชิงลึกผ่านเซ็นเซอร์ที่ฝังอยู่ในสภาพแวดล้อม ซึ่งจะช่วยในการวิเคราะห์พฤติกรรมลูกค้าได้อย่างละเอียด เหมาะสำหรับธุรกิจค้าปลีก สุขภาพ และการเกษตร เช่น Amazon Go ที่ใช้เซ็นเซอร์และการวิเคราะห์ข้อมูลแบบเรียลไทม์เพื่อติดตามและตอบสนองพฤติกรรมลูกค้า คาดการณ์ว่าในปี 2028 เทคโนโลยีนี้จะถูกใช้อย่างแพร่หลายเพื่อติดตามและตอบสนองต่อพฤติกรรมลูกค้าแบบอัตโนมัติ

 
Energy-Efficient Computing ประหยัดพลังงานไปกับเทคโนโลยีประสิทธิภาพสูง 

        

        เมื่อความยั่งยืนกลายเป็นสิ่งสำคัญ Energy-Efficient Computing จะช่วยลดการใช้พลังงานของระบบ IT ส่งผลให้บริษัทลดต้นทุนและสร้างความยั่งยืนให้กับองค์กร คาดการณ์ว่าเทคโนโลยีนี้จะกลายเป็นหัวใจหลักในการดำเนินธุรกิจในอนาคต

       

Hybrid Computing ผสานความได้เปรียบของระบบไฮบริด         

        การประมวลผลแบบไฮบริดที่รวมเอาข้อดีของ CPU, GPU, และ Quantum Computing เข้าไว้ด้วยกันช่วยให้ธุรกิจสามารถจัดการงานที่ซับซ้อนได้ IBM เริ่มใช้ Hybrid Computing ในการพัฒนาแอปพลิเคชันที่ต้องการประมวลผลสูง ช่วยเพิ่มความยืดหยุ่นในการตอบสนองต่อความต้องการของตลาด คาดการณ์ว่าองค์กรที่นำเทคโนโลยีนี้มาใช้จะสามารถแข่งขันได้อย่างมีประสิทธิภาพ

 

Spatial Computing เปิดมิติใหม่ของการใช้งานเทคโนโลยี

       

        การสร้างโลกเสมือนจริงผ่าน Spatial Computing ช่วยให้ผู้ใช้งานเชื่อมโยงกับโลกดิจิทัลได้ดียิ่งขึ้น ในบริบทของเทรนด์นี้จะเป็นการตอกย้ำว่าอนาคตเราอาจจะต้องให้ความสำคัญกับโลกเสมือนจริงมากขึ้น ถึงแม้ในปัจจุบันการมาของ Wearable Technology อย่างเช่น Apple Vision Pro จะยังไม่ได้รับความนิยมมากนัก แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่านี่คือเทรนด์แห่งอนาคต คาดการณ์ว่าในปี 2028 เทคโนโลยีนี้จะช่วยให้ผู้บริโภคได้รับประสบการณ์ที่สมจริงและสร้างมูลค่าใหม่ให้กับธุรกิจ

 

Polyfunctional Robots หุ่นยนต์อเนกประสงค์เสริมการทำงานของมนุษย์

       

        Polyfunctional Robots หรือหุ่นยนต์ที่สามารถปรับตัวได้ต่อคำสั่งที่หลากหลาย เช่น Amazon Robotics ที่ใช้ DynamoDB ในการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของหุ่นยนต์ กว่า 500,000 ตัว โดยช่วยลดความซับซ้อนในกระบวนการโลจิสติกส์และลดภาระของแรงงานมนุษย์ในคลังสินค้า รวมถึงสามารถตอบสนองคำสั่งงานได้แบบเรียลไทม์ในระดับมิลลิวินาที ช่วยให้งานสำเร็จได้เร็วขึ้นและลดความล่าช้าในการจัดการสินค้าภายในคลัง ส่งผลให้ประสิทธิภาพการทำงานของทีมวิศวกรรมเพิ่มขึ้นถึง 35% โดยคาดว่าภายในปี 2030 หุ่นยนต์จะกลายเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวันในอุตสาหกรรมต่างๆ

 

Neurological Enhancement พัฒนาการทำงานของสมองเพื่อการทำงานที่มีประสิทธิภาพสูง

 

        การพัฒนาความสามารถทางปัญญาของพนักงานด้วย Neurological Enhancement จะเป็นเครื่องมือที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพให้กับทีม โดยหวังว่าจะช่วยพัฒนาทักษะและเพิ่มสมรรถภาพในการทำงานได้มากขึ้น ตัวอย่าง Bidirectional Brain-Machine Interfaces (BBMIs) อุปกรณ์ที่ทำงานร่วมกับสมองเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพให้กับความจำ สมาธิ และการแก้ปัญหา ซึ่งอยู่ในขั้นตอนการพัฒนา ถึงแม้เราจะยังไม่ได้เจอกับประสิทธิภาพที่แท้จริงของมัน แต่คาดการณ์ว่าภายในปี 2030 พนักงาน IT 60% จะได้รับการสนับสนุนให้ใช้เทคโนโลยีนี้ ซึ่งจะช่วยองค์กรให้มีความสามารถในการแข่งขันสูงขึ้นในระยะยาว

        อนาคตของเทคโนโลยีในปี 2025 ชี้ชัดว่าการนำเทคโนโลยีทั้ง 10 ประเภทนี้มาใช้จะช่วยให้องค์กรยกระดับการดำเนินงาน สร้างความยั่งยืน และเสริมความมั่นคงให้กับธุรกิจ ช่วยให้ธุรกิจเดินหน้าไปในทิศทางที่เหมาะสมอย่างยั่งยืน

 

บรรณานุกรม

Alvarez, Gene. (2024). Gartner Top 10 Strategic Technology Trends for 2025. สืบค้นจาก https://www.gartner.com/en/articles/top-technology-trends-2025?fbclid=IwY2xjawGhKMRleHRuA2FlbQIxMAABHRsi2yFAM6ejMS6_WbIBxTKXitQDuEXI675ZHB9me2anbg0nBtu9aw2sAg_aem__zbEteheQtdW2zuZAHm4-Q

Amazon. (2023). Amazon Robotics: Multi-Functional Robots in Industry. สืบค้นจาก https://www.aboutamazon.com/news/tag/robotics

AWS Database Blog. (2024). Amazon Robotics achieves worldwide scale and improves engineering efficiency by 35% with Amazon DynamoDB. สืบค้นจาก https://aws.amazon.com/blogs/database/amazon-robotics-achieves-worldwide-scale-and-improves-engineering-efficiency-by-35-with-amazon-dynamodb/

Google Cloud. (ม.ป.ป.). Post-quantum cryptography. สืบค้นจาก https://cloud.google.com/security/resources/post-quantum-cryptography

IBM. (ม.ป.ป.). Hybrid cloud solutions. สืบค้นจาก https://www.ibm.com/hybrid-cloud

IBM. (2024). What is AI governance?. สืบค้นจาก https://www.ibm.com/topics/ai-governance

McKinsey Digital. (2024). McKinsey Technology Trends Outlook. สืบค้นจาก https://www.mckinsey.com/capabilities/mckinsey-digital/our-insights/the-top-trends-in-tech?fbclid=IwY2xjawGhKSxleHRuA2FlbQIxMAABHYauLZ5P5l8fNLlPNbbvroDDIQ_TMY3ZpXGFsOHTV7W2E7T2OvkkrRQ5Ag_aem_rJnr20gKTGo9kCq1D1LPMA

Munoz, D. (2023). Ambient Computing - Invisible Technology But Useful. สืบค้นจาก https://www.linkedin.com/pulse/ambient-computing-invisible-technology-useful-duke-munoz-wut3c/

Salesforce. (ม.ป.ป.). Agentic AI: Innovation for Intelligent Assistant Teams. สืบค้นจาก https://www.salesforce.com/agentforce/