โครงการ D-NEXT ก้าว(กระโดด)สำคัญต่อไปของกลุ่มปตท.

[ตอนที่ 4]

สิ้นสุดการค้นหาสตาร์ทอัพอาเซียน ณ อินโดนีเซีย และเวียดนาม

          เดือนนี้ D-NEXT โปรแกรมเร่งสปีดสตาร์ทอัพ โครงการแรกของกลุ่มปตท.* เพื่อค้นหากิจการสตาร์ทอัพศักยภาพสูง มาบ่มเพาะความรู้ทางธุรกิจ เพิ่มโอกาสการดำเนินธุรกิจร่วมกับกลุ่มปตท. ได้คัดเลือก Finalists สตาร์ทอัพจาก 5 ประเทศในภูมิภาคอาเซียนเสร็จสิ้นเป็นที่เรียบร้อยแล้ว โดย 2 ประเทศสุดท้าย ที่เราไปค้นหาและคัดเลือกสตาร์ทอัพได้แก่ อินโดนีเซีย และเวียดนาม

 

   
   

     สำหรับอินโดนีเซีย สตาร์ทอัพที่เข้าร่วม Pitching (นำเสนอนวัตกรรม) เช่น  Mentorica แพลตฟอร์มด้านการวิเคราะห์ข้อมูลจาก Computer Vision (คอมพิวเตอร์วิทัศน์) ที่สามารถรู้จำและแบ่งประเภทภาพที่ มองเห็นได้ เหมาะกับการวิเคราะห์ข้อมูลวีดีโอภายในร้านค้าปลีก ซึ่งจะช่วยให้พนักงานในร้านรับรู้ความ ต้องการลูกค้าเป็นรายบุคคลได้ และ EWAZTEPAY สตาร์ทอัพที่มาพร้อม concept น่าสนใจว่าเป็น “ Uber  for Trash”  โมบายล์แอพ เพื่อการรับซื้อขยะจากประชาชน และนำไปขายให้ภาคธุรกิจ โดยประชาชน  เมื่อมีขยะ สามารถเรียกบริการรถรับขยะได้ทุกที่ที่ต้องการ เสมือนบริการเรียกรถ Uber ที่สำคัญ  ผู้ใช้บริการจะได้รับการจ่ายผลตอบแทน ตามชนิดและน้ำหนักขยะผ่านโมบายล์แอพนี้ ซึ่งผู้พัฒนา  คาดหวังว่า กระบวนการดังกล่าว จะช่วยลดปัญหาขยะในประเทศที่เข้าไปดำเนินการ  

 

   
       

     สำหรับ Finalist ของประเทศอินโดนีเซีย ที่ได้รับการคัดเลือกให้ผ่านเข้ารอบ 30 ทีมสุดท้าย ได้แก่ Oxide ซึ่งนำเสนอแพลตฟอร์มด้านการวิเคราะห์ข้อมูล โดย Oxide จะเป็นเครื่องมือสำคัญในการเตรียมข้อมูลธุรกิจ ให้มีคุณภาพดีขึ้นได้อย่างรวดเร็ว พร้อมที่จะนำมาวิเคราะห์และใช้งานร่วมกับ Machine Learning และ AI โดย Oxide มีความเชี่ยวชาญในการจำแนกจัดกลุ่มภาษาที่ซับซ้อน เช่น ภาษาอินโด ที่แม้จะใช้ตัวอักษรภาษาอังกฤษ แต่โครงสร้างไวยากรณ์และวิธีสะกดคำ ไม่เหมือนกัน แต่แพลตฟอร์มนี้ก็สามารถรู้ และจัดกลุ่มได้ โดย Oxide มีแผนจะขยายฐานลูกค้าองค์กร ที่มีความต้องการใช้ข้อมูลในการวิเคราะห์  พยากรณ์ ตัดสินใจ และดำเนินการในขั้นตอนต่างๆ

 

   
Finalist ผู้ผ่านเข้ารอบจากอินโดนีเซีย
Oxide แพลตฟอร์มด้านการวิเคราะห์ข้อมูลจากบริษัท xqinformatics

 

          สำหรับประเทศเวียดนาม สตาร์ทอัพที่เข้าร่วม Pitching (นำเสนอนวัตกรรม) เช่น CLAS Healthcare ระบบเก็บข้อมูลการรักษาผู้ป่วยจากแหล่งต่างๆ เช่น โรงพยาบาล ห้องปฏิบัติการ ระบบประกันสุขภาพ มาไว้ ที่ส่วนกลาง โดยเก็บข้อมูลตั้งแต่การพบแพทย์ ผลการรักษา ผลตรวจเลือด ยาที่ใช้รักษา ซึ่งข้อมูลส่วนกลางสามารถ เชื่อมต่อไปยังอุปกรณ์ต่างๆ รวมถึงเชื่อมต่อกับระบบประกันโดยใช้เทคโนโลยี Block Chain เชื่อมต่อและยืนยันข้อมูล เมื่อผู้ป่วยเจ็บป่วยกระทันหันต้องไปเข้าโรงพยาบาลที่อื่น หรือต้องการเปลี่ยนโรงพยาบาลที่จะรักษาก็สามารถเรียกข้อมูลส่วนนี้มาใช้ได้ทันที และ Innkom สตาร์ทอัพซึ่งนำเสนอ แอพพลิเคชั่นบริการแผนที่นำทาง สำหรับการจัดงานในพื้นที่อาคาร (Indoor location) หลายครั้งที่งานอีเว้นท์ใหญ่ๆ หรือ trade show จัดในพื้นที่กว้างและมีหลากหลายบูธ ทำให้ลูกค้าหาบูธที่ตนสนใจไม่พบ แอพนี้จะช่วยนำทางไปยังบูธสินค้าที่ลูกค้าต้องการ และยังสามารถนำเสนอโปรโมชั่นสินค้าได้อีกด้วย

     
   
       

  สำหรับ Finalist ของประเทศเวียดนาม ที่ผ่านเข้ารอบ 30 ทีมสุดท้าย ได้แก่ WisePass ซึ่งนำเสนอ Lifestyle mobile application สำหรับลูกค้าที่ชอบสังสรรค์ กิน ดิ่ม เที่ยว โดยลูกค้าชำระค่าสมาชิก 6,000,000 VND ต่อเดือน (ประมาณ $300) สามารถเลือกแลกรับ setอาหารกลางวัน, set อาหารค่ำ, เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ 1ขวด  หรือ บัตร VIP เข้าร่วมงาน event ได้วันละ 1 ครั้ง จากร้านอาหารที่ร่วมรายการกว่า 100 แห่ง ปัจจุบันเปิดตลาดที่เวียดนามมาแล้ว 1ปี และ กำลังมีงาน event เปิดตัว application ที่กรุงเทพฯ ในวันที่ 15 มีนาคม 2561 โดยในปี 2018 มีแผนขยายกลุ่มสินค้าไปยังตั๋วเครื่องบิน Fitness โรงภาพยนตร์

 

   
Finalist ผู้ผ่านเข้ารอบจากเวียดนาม
WisePass ไลฟ์สไตล์โมบายล์แอพฯ จากบริษัท WisePass

 

     แม้การค้นหาสตาร์ทอัพในกลุ่มอาเซียนเสร็จสิ้นแล้ว แต่วันนี้ เป็นวันสุดท้ายที่เรายังเปิดรับสมัครสตาร์ทอัพเข้าร่วมโครงการก่อนเข้าสู่การคัดเลือกผู้เข้ารอบ 30 ทีม ดังนั้นเพื่อนๆ สามารถแนะนำบอกต่อสตาร์ทอัพที่ตนรู้จัก ให้เข้าร่วมโครงการโดยสมัครทาง   http://www.riseaccel.com/dnext/  

   

 

   

 

   
 
*Accelerator program คือ โปรแกรมเร่งสปีด สนับสนุนการเติบโตของสตาร์ทอัพที่มีศักยภาพ ซึ่งเป็นโปรแกรมพัฒนาธุรกิจ ที่ได้รับความนิยมในต่างประเทศ โดยองค์กรอาจจัดตั้งหน่วยงาน (หรือบริษัทในกลุ่ม) ให้ร่วมมือกับบริษัทที่มีความเชี่ยวชาญด้านการเร่งสปีดการเติบโต ของสตาร์ทอัพ เพื่อร่วมกันทำหน้าที่ค้นหา และคัดเลือกสตาร์ทอัพ ที่มีผลิตภัณฑ์อันมีศักยภาพเติบโตแบบก้าวกระโดดต่อไป (Growth Hacking Platform) ให้มีโอกาสนำเสนอต่อหน่วยธุรกิจในองค์กร ที่มีความต้องการ อีกทั้งระหว่างโปรแกรมจะมีการฝึกอบรมโดยผู้เชี่ยวชาญที่มีเครือข่ายในวงการสตาร์ทอัพ เพื่อพัฒนารูปแบบการดำเนินธุรกิจ ผลิตภัณฑ์ และการทำการตลาดให้เติบโตเร็วด้วย ตัวอย่างเช่น Y Combinator ถือเป็น Accelerator ที่มีชื่อเสียงจากสหรัฐฯ ซึ่งได้เร่งสปีดการเติบโตให้บริษัทเทคโนโลยีที่มีแบรนด์โด่งดังระดับโลกอย่าง Airbnb และ Dropbox มาแล้ว